วันเสาร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2554

ข้อปฏิบัติตนสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับยา Warfarin

1. หลีกเลี่ยงการเล่นกีฬาที่มีการกระทบกระแทก
2. ระมัดระวังการใช้อุปกรณ์มีคม เช่น มีด
3. ลด ละ เลิก การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
4. ระมัดระวังการลื่นล้ม โดยเฉพาะในผู้ป่วยสูงอายุ
5. สวมหมวกกันน็อคทุกครั้งที่ขับขี่รถจักรยานยนต์
6. หลีกเลี่ยงการนวดที่รุนแรง
7. หลีกเลี่ยงการฉีดยาเข้ากล้าม
8. แจ้งแพทย์หรือทันตแพทย์ทุกครั้งว่ารับประทานยา
Warfarin
9. หากมีการย้ายถิ่นฐาน ให้นำประวัติผู้ป่วยจากโรงพยาบาลเดิมมาด้วย

กลไกการออกฤทธิ์ของยาวาร์ฟาริน

          ยาวาร์ฟารินจะรบกวนกระบวนการชีวสังเคราะห์ของ vitamin K-dependent coagulation factors ซึ่งได้แก่ ปัจจัย II (prothrombin), VII, IX และ X  (Hathaway and Goodnight, 1993) โดยการยับยั้งกระบวนการ cyclic interconversion ของวิตามินเคและ vitamin K epoxide  โดยปกติแล้ววิตามินเคเป็นปัจจัยร่วมในปฏิกิริยาการเติมหมู่คาร์บอกซิลให้แก่กรดอมิโนกลูตาเมท (glutamate residues, Glu) ไปเป็น g-carboxyglutamate (Gla) บนปลายที่มีหมู่อมิโนของโปรตีนใน vitamin K-dependent coagulation factors  และ Gla จะทำให้โปรตีนนั้นเกิดการเปลี่ยนแปลงโครงรูปเพื่อจับกับแคลเซียมซึ่งรวมอยู่กับ Phospholipid บนผิวของเกล็ดเลือด ส่งผลให้เกิดการแข็งตัวของเลือดต่อไป ปฏิกิริยาการเติมหมู่ carboxyl ให้กับปัจจัยการแข็งตัวของเลือดนี้จะถูกเร่งโดยเอนไซม์ carboxylase ซึ่งต้องการวิตามินเคในรูปรีดิวส์ (vitamin KH2) ออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ ระหว่างการเกิดปฏิกิริยานี้ vitamin KH2 จะถูกออกซิไดส์ไปเป็น vitamin K epoxide (KO) ซึ่งจะถูกเปลี่ยนกลับมาเป็นวิตามินเคได้โดยเอนไซม์ vitamin K epoxide reductase  และถูกรีดิวส์ต่อไปเป็น vitamin KH2 โดยเอนไซม์ vitamin K reductase   ยาวาร์ฟารินจะออกฤทธิ์ต้านการแข็งตัวของเลือดโดยยับยั้งเอนไซม์ vitamin K epoxide reductase และอาจยับยั้งเอนไซม์ vitamin K reductase ด้วย กลไกดังกล่าวจะทำให้ปริมาณ vitamin KH2 ลดลงและยังจำกัดอัตราการเกิดปฏิกิริยาการเติมหมู่คาร์บอกซิลให้แก่ vitamin K-dependent coagulation factors อีกด้วย นอกจากนี้ยาวาร์ฟารินยังจำกัดปฏิกิริยาการเติมหมู่คาร์บอกซิลให้แก่ protein C (ซึ่งเป็นเอนไซม์ protease ชนิดหนึ่งซึ่งจะใช้ย่อยปัจจัย V, VIII และชะลอการสร้าง thrombin) และ protein S  ส่งผลให้การทำงานของปัจจัยการแข็งตัวของเลือดผิดปกติไป

          จากการที่ยาวาร์ฟารินออกฤทธิ์ดังกล่าว ส่งผลให้ตับผลิตและหลั่งโปรตีนที่จะเกิดการเติมหมู่คาร์บอกซิลได้เพียงบางส่วนหรือโปรตีนที่ไม่เกิดการเติมหมู่คาร์บอกซิลเลย โดยการลดจำนวนกรดอมิโนกลูตาเมทบนโมเลกุลของ Prothrombin จากปกติ 10-13 Gla เป็น 9 Gla ทำให้ประสิทธิภาพในการแข็งตัวของเลือดลดลง 30 เปอร์เซ็นต์ แต่ถ้าลดลงจนต่ำกว่า 6 Gla ก็จะทำให้ประสิทธิภาพในการแข็งตัวของเลือดลดลงกว่า 95 เปอร์เซ็นต์ (Hirsh, 1991)

กลไกการออกฤทธิ์ของยาวาร์ฟาริน
จากรูป ฤทธิ์ต้านการแข็งตัวของเลือดของยาวาร์ฟารินจะลดลงเนื่องจาก vitamin K1 จะถูกรีดิวส์ผ่าน warfarin-resistant vitamin K reductase enzyme system ก่อให้เกิดการดื้อต่อยาวาร์ฟารินได้ในผู้ป่วยที่ได้รับ vitamin K1 ในปริมาณสูง เนื่องจากยาวาร์ฟารินไม่สามารถยับยั้งเอนไซม์ NADH dependent reductase ที่ใช้ในการเปลี่ยน vitamin K1 เป็น vitamin KH2 ได้